คุณสมบัติของ ขมิ้นชัน
เป็นพืชสมุนไพรที่มีวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ, วิตามินบี 1, บี 2, บี 3, วิตามินซี, วิตามินอี, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, ธาตุเหล็ก, และเกลือแร่ รวมไปถึงเส้นใยสายอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ซึ่งนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงอาหาร และยังสามารถนำมาใช้ในด้านสมุนไพร โดยทั่วไปจะนิยมในเหง้าของขมิ้นชันมาใช้ประโยชน์มากกว่าส่วนอื่น ๆ
ลักษณะของต้น ขมิ้นชัน
เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ สีของเหง้านั้นสามารถมีสีเข้มได้จากสีเหลืองไปจนถึงสีแดงสด ที่ต้นจะมีแขนงทรงกระบอกแตกขึ้นมาด้านข้าง
ลักษณะของใบ ขมิ้นชัน
เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะใบจะแทงซ้อนขึ้นมาจากเหง้าเป็นรูปใบหอก ขนาดใบกว้าง 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ที่กลางใบจะมีสีแดงคล้ำ
ลักษณะของดอก ขมิ้นชัน
ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าแทงขึ้นมาระหว่างก้านใบ ลักษณะดอกจะเป็นทรงกระบอก กลีบดอกมีสีเหลืองหรือสีส้มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีใบประดับสีเขียว ในหนึ่งต้นจะมีดอกบานครั้งละ 3-5 ดอก เมื่อบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีชมพูปนขาว
ลักษณะของผล ขมิ้นชัน
มีลักษณะเป็นพูแข็ง ๆ และกลม ประมาณ 3 พูต่อ 1 ต้น
สรรพคุณของ ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันนั้นเป็นพืชที่นิยมนำเอาเหง้ามาใช้ในการประกอบอาหารโดยสามารถใช้ได้ทั้งเหง้าแบบสดหรือแบบบดผง และยังสามารถนำเอามาพอกหรือทาตามผิวหนังเพื่อบำรุงผิวได้ด้วย จึงมีการนำเอาผงขมิ้นไปผสมในการผลิตเครื่องสำอางและเครื่องบำรุงผิว
คุณสมบัติด้านสมุนไพรของ ขมิ้นชัน
เหง้าขมิ้น เหง้าสดหรือเหง้าแห้งบดผงสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้เช่นเดียวกันกับขิงหรือตะไคร้ หรือผงพริกไท มีสรรพคุณต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย สร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยป้องกันการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน บรรเทาอาการความดันสูง ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร รักษาภูมิแพ้ ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้อาการตกขาว ช่วยบำรุงอวัยวะภายในต่าง ๆ รวมไปถึงผงขมิ้นนั้นยังสามารถนำมาพอกหรือทาตัวเพื่อบรรเทาอาการผดผื่นคัน หรือใช้ขัดผิวได้ด้วย
วิธีใช้ เครื่องบดสมุนไพร บดเป็นผงเพื่อใช้ประโยชน์
เหง้าแห้งขมิ้นชันนั้นก่อนนำมาบดใหเป็นผงควรนำไปผ่านการอบแห้งให้แห้งสนิทเสียก่อน และเมื่อบดออกมาแล้วผงขมิ้นอาจเปลี่ยนสถานะที่มีความเหนียวขึ้นจึงควรนำมาบดในปริมาณที่พอเหมาะในแตกละรอบการบด
ข้อควรระวัง
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง ร้าน DXFILL พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ dxfills@gmail.com