คุณสมบัติของ ขี้เหล็ก
ขี้เหล็ก หรือมีชื่อตามท้องถิ่นว่า ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กแก่น ผักจี้ลี้ และอีกหลายชื่อตามแต่ท้องถิ่น ต้นขี้เหล็กจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลักษณะลำต้นโค้งงอ มีเปลือกลำต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ผิวเปลือกมีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว กิ่งก้านจะแตกเป็นพุ่มแคบ ๆ มีใบลักษณะแบบขนนกออกเรียงสลับกัน สีใบเขียวเข้มและมีใบย่อยรูปรี 5-12 คู่ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่บริเวณปลายก้านสุดจะเป็นใบเดี่ยว ที่ปลายเว้าตื้นเล็กน้อย โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ มีดอกขี้เหล็กออกเป็นช่อแขนงแยกบริเวณปลายกิ่ง ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงกลม 3-4 กลีบ ปลายกลีบมน มีกลีบหลักทั้งหมด 5 กลีบ ลักษณะปลายมน โคนจะเรียว โดยทั่วไปจะกลีบหลักจะร่วงหล่นได้ง่าย มีผลลักษณะเป็นฝักแบน มีความกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปละยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ฝักมีความหนาบางลดหลั่นแล้วแต่ขนาดของเมล็ดภายใน ขี้เหล็กถือเป็นพืชที่นิยมนำมาทำอาหารได้โคยเฉพาะส่วนใบและดอก
สรรพคุณของ ขี้เหล็ก
แม้จะเป็นพืชที่นิยมปลูกเพื่อใช้ใบนำมาประกอบอาหาร แต่ส่วนต่าง ๆ ของต้นขี้เหล็กก็ยังมีคุณสมบัติที่สามาถนำมาผลิตเป็นสมุนไพรพื้นบ้านได้เช่นเดียวกัน เช่นในใบขี้เหล็กนั้นมีสารเบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก รวมถึงมีสารให้พลังงานเช่นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตอีกด้วย
คุณสมบัติด้านสมุนไพรของ ขี้เหล็ก
แก่นต้นขี้เหล็ก มีสรรพคุณบำรุงธาตุ ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน วัณโรค ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
ใบ สามารถนำมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานได้ มีแคลเซียมที่ช่วยสร้างเสริมและบำรุงกระดูก มีธาตุเหล็กช่วยบำรุงโลหิต และยังมีสารที่ชื่อว่า “แอนไฮโดรบาราคอล” (Anhydrobarakol) ที่มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลายช่วยให้นอนหลับง่าย ช่วยแก้ร้อนใน ขับเสมหะ บรรเทาอาการท้องผูก และช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว และมีสรรพคุณช่วยขับพยาธิได้ด้วย
ดอก มีวิตามินที่เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา เสริมภูมิต้านทาน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง รักษาและบรรเทาอาการหืดหอบ และยังใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้
วิธีใช้ เครื่องบดสมุนไพร บดเป็นผงเพื่อใช้ประโยชน์
ใบขี้เหล็กที่จะนำมาบดด้วยเครื่องบดจะต้องมีความแห้งสนิทจริงเท่านั้น หากไม่แห้งสนิทจะมีความเหนียวทำให้บดได้ไม่ดีเท่าที่ควร และหลังจากบดแล้วควนนำเอามาร่อนในตะแกงร่อนเพื่อร่อนเอาส่วนที่เป็นก้านใบออกไป เนื่องจากส่วนดังกล่าวจะมีความเหนียวแล้วเป็นเส้นซึ่งยากต่อการบดให้เป็นผง สามารถนำผงของใบขี้เหล็กนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสในการทำอาหารได้ หรือนำไปบรรจุใส่ในแคปซูลยาเพื่อรับประทานเป็นอาหารเสริมได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง ร้าน DXFILL พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ dxfills@gmail.com